ลงประกาศฟรี
ค้นหาประกาศ

ขายของออนไลน์ ต้องรู้ โฆษณาแบบไหน ผิด พ.ร.บ.คอมพ์

ขายของออนไลน์ ต้องรู้! โฆษณาสินค้าแบบไหน ผิด พ.ร.บ.คอมพ์?

 

ขายของออนไลน์ ต้องรู้ โฆษณาแบบไหน ผิด พ.ร.บ.คอมพ์

 

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ไว้ สำหรับกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ฉบับใหม่ ซึ่งมีการแก้ไขเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝากร้านในไอจี หากเจ้าของไอจีปฏิเสธงดฝากร้าน แต่ยังกระทำอยู่ มีความผิดถูกปรับสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทต่อครั้ง ถือว่าหนักพอสมควรเลยสำหรับกรณีนี้

ทั้งนี้ สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามของมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

“ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับ สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท

ให้รัฐมนตรีออกประกาศกําหนดลักษณะและวิธีการส่ง รวมทั้งลักษณะและปริมาณของ ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับและลักษณะอันเป็นการบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย”

นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คอมพ์ ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ ถึงการกระทำที่เป็นความผิดตามข้อกฎหมายดังกล่าว ได้แก่ …

1. ฝากร้านในไอจี

หากเจ้าของไอจีระบุว่า #ห้ามฝากร้าน #กรุณางดฝากร้าน #ไม่ฝากร้าน หรือข้อความอื่นๆ ที่มีความหมายถึงการ ไม่อนุญาตในการโฆษณาสินค้าหรือบริการ บนพื้นที่ส่วนตัวของเจ้าของไอจี  บุหรี่ไฟฟ้า  แต่หากเจ้าของไอจีไม่ได้ระบุข้อความนี้ไว้ เมื่อมีร้านค้ามาขอฝากร้าน ให้แจ้งกลับไปว่าไม่ต้องการโฆษณาและให้ลบออก แต่หากยังมีการฝากร้านต่อถือว่ามีความผิด

2. อีเมลโฆษณา

การส่งอีเมลเสนอขายสินค้าหรือบริการ โดยที่ไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของอีเมล ต้องมีมาตรการในการบอกยกเลิกรับอีเมลโฆษณาให้กับผู้บริโภค ยกเว้นแต่มีการเสนอขายกันมาก่อนหน้านี้

3. การส่งแชตส่วนตัว

ไม่ว่าจะเป็นทางโซเชียลมีเดียต่างๆ บางครั้งมีการอินบ็อกซ์เสนอโฆษณาเข้ามาทั้งๆ ที่ไม่ได้สนใจ ให้ปฏิเสธหากยังส่งมาอีกมีความผิด

4. การส่งเอสเอ็มเอสทางโทรศัพท์มือถือ

ไม่ว่าจะเป็นประกัน เงินกู้ หรืออื่นๆ หากจะส่งได้อย่างไม่ผิดกฎหมายจะต้องมีระบุไว้ในข้อความด้วยว่า หากไม่ประสงค์รับข้อความให้ติดต่อที่หมายเลขนี้

หากร้านค้าฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทต่อครั้ง!

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการโฆษณาเกิดขึ้น ผู้บริโภคจะต้องแสดงการกระทำที่ว่า ไม่ต้องการรับโฆษณา เพื่อไม่ให้ส่งมาอีก หากส่งมาครั้งที่สองก็จะมีความผิด แต่ถ้าเฉยๆ ไม่ได้แสดงการกระทำใดๆ ที่บ่งบอกว่าไม่ต้องการรับโฆษณา ทางร้านค้าก็อาจจะตีความได้ว่า ยินยอมไปโดยปริยาย

นายไพบูลย์ กล่าวต่ออีกว่า หากพบเห็นการกระทำความผิด ให้แคปภาพไว้เป็นหลักฐาน และแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.)

“ส่วนการโหลดสติกเกอร์ไลน์ฟรีแล้วมีโฆษณาพ่วงมาด้วยนั้น แอปพลิเคชันไลน์มีปุ่มบล็อกบัญชีไลน์ที่ไม่ต้องการได้ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ดังนั้น จึงไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์” นายไพบูลย์ ระบุ

 

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook